Home | Products | Download Catalog | Order | Music Tips | Contact us
 
 
มารู้จักกับ Percussion กันดีกว่า
    ในบรรดาเครื่องดนตรีทั้งหลาย Percussion จัดว่าเป็นเครื่องดนตรีที่มีความหลากหลายและ
  เป็นเครื่องดนตรีที่ถือกำเนิดมาพร้อม ๆ กับมนุษย์เลยทีเดียว เราจะเห็นเครื่องดนตรีประเภทนี้
  ในวงดนตรีแทบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นวง Band หรือวง Orchestra ตลอดจนวง Jazz Band
  Percussion นับว่าเป็นเครื่องดนตรีที่พบเห็นได้บ่อยแทบจะในวงดนตรีทุกประเภทคราวนี้ใคร
  ที่เล่น Percussion คงจะรู้ตัวแล้วนะว่าเรามีบทบาทสำคัญมากแค่ไหน
ตระกูล Percussion มีอะไรบ้าง
    ตระกูลของ Percussion ถ้าจะแบ่งไปแล้วสามารถแบ่งออกได้ตามลักษณะของการกำเนิด
  เสียงได้ 2 ลักษณะ คือ
      1. Membranophones คือเครื่องที่กำเนิดเสียงได้จากการสั่นสะเทือนของหนังที่ขึงตึงอยู่
  บนตัวถัง คราวนี้เราคงเดาออกแล้วว่าได้แก่ พวกกลองทั้งหลายไม่ว่าจะเป็น Snare, Drum,
  Bass Drum, Conga ตลอดจนกลอง Timpani เป็นต้น
      2. Idiophones คือ เครื่องที่กำเนิดเสียงจากตัวเองโดยการสั่นสะเทือน ได้แก่ ฉาบ, Bell, Xylophone เป็นต้น

    เราจะเห็นได้ว่า Percussion นั้นมีความหลายหลายซึ่งเราสามารถแบ่งออกได้ 2 ลักษณะข้าง
  ต้นนี้แล้ว ยังแย่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆได้อีก 2 กลุ่มด้วยกัน คือ
      1. Definite pitch คือ Percussion ที่มีระดับเสียงแน่นอนในตัวเองสามารถตั้งเสียงและ
  เล่นเสียงต่าง ๆ ที่มีระดับเสียงแน่นอนได้ เช่น Xylophone, Vibraphone, Timpani เป็นต้น
      2. Indenfinite pitch คือ Percussion ที่ไม่มีระดับเสียงแน่นอนในตัวเอง ไม่สามารถ
  ตั้งระดับเสียงและระบุระดับเสียงที่แน่นอนได้ เช่น ฉาบ , Snare Drum, Bass Drum,
  Tam-Tam เป็นต้น
เราควรฝึกเครื่องอะไรดี
    เครื่อง Percussion นั้นมีมากมายอย่างที่เรา ได้รู้จักในเบื้องต้นแล้ว เราควรมาเรียนรู้ เครื่อง
  ที่สำคัญ ๆ และ รู้หลักการฝึกพื้นฐานของเครื่อง แต่ละประเภท อันดับแรก ที่เราควรรู้จักเพราะ
  นักเล่น Percussion ถือว่าเป็นหัวใจ และนำไปสู่การเล่น Percussion ชนิดอื่น ๆ เครื่องที่ควร
  เรียนรู้พื้นฐานอันดับแรก คือ Snare Drum
ทำไมเราต้องหัด Snare Drum ก่อน
    นักเล่น Percussion ถือว่าพื้นฐานการเล่น Snare Drum ไม่ว่าจะเป็น รูปแบบของการจับไม้
  ตลอดไปจนถึงเทคนิคการตีแบบฝึกหัดต่าง ๆ ของ Snare Drum ล้วนครอบคลุมและสามารถ
  ดัดแปลง ไปเล่น Percussion ประเภทอื่น ๆ ได้ เกือบทุกเครื่องก็ว่าได้
มารู้จักกับ Snare Drum
    โครงสร้างที่สำคัญของ Snare Drum ในข้อนี้ขอนำมาให้รู้จัก 3 ส่วนสำคัญคือ
    1. ตัวถังกลอง / Shell
        แต่เดิมจะทำมาจากไม้แท้ ๆ หรือไม้อัด ภายหลังมีการใช้โลหะ หรือวัตถุสังเคราะห์มาใช้
    ในการทำตัวถังกลอง วัสดุที่ใช้ทำตัวถึงนั้นจะมีผลทำให้เสียงกลองนั้น ๆ แตกต่างกันออกไป
    เช่น ตัวถังที่ทำจากไม้ จะให้เสียง ที่มีน้ำหนักดี (Dark / Warm) นักตีก
    ลองส่วนใหญ่ จะนิยมใช้ ตัวถึงไม้กัน ส่วนตัว ถึงที่ทำจากโลหะจะให้เสียงใสกังวาน (Bright)
    ซึ่งมี สุ้มเสียงแตกต่างกัน ออกไปแล้วแต่ว่า ใครจะชอบเสียงไหน
    2. หนังกลอง / Head
        ปัจจุบันส่วนใหญ่ จะใช้พลาสติกหรือวัสดุสังเคราะห์ในการทำเพราะสะดวกในการควบคุม
    การใช้งานและ ผลิต แต่เดิม หนังกลอง จะใช้หนังสัตว์ โดยเฉพาะ หนังลูกวัวมาทำ ซึ่งยาก
    ต่อการควบคุมเสียง ดูแลรักษาสภาพหนัง ตลอดไปจนถึง การหาวัตถุดิบ ที่จะนำมาผลิตหนัง
    กลองจำนวนมาก ๆ อีกทั้ง ถ้าสภาพ อากาศเปลี่ยนแปลง หนังกลองก็ จะเปลี่ยนแปลง ตาม
    สภาพอากาศ ไปด้วยแน่นอน ที่ว่าเสียงกลองก็เปลี่ยนไปด้วย ทำให้ลำบาก ที่นักตีกลอง จะ
    ควบคุมเสียงได้ ดังนั้น หนังที่ทำจากพลาสติก จึงเป็น ที่นิยมแพร่หลาย มากกว่า
    3. สาย Snare
        เป็นตัวที่ทำให้เกิดเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ของกลองชนิดนี้ วัสดุที่ใช้ในการทำสาย Snare
    ในปัจจุบันนี้ มี 3 ประเภท     ซึ่งแต่ละประเภทจะให้เสียงที่แตกต่างกันออกไปคือ
    สายลวด / Wire : จะให้เสียงใสและตอบสนองการสั่นสะเทือนได้ดีนิยมใช้กับกลอง
    Concert และกลองชุด
    ไส้อ่อน / Gut : เสียงจะมีน้ำหนักและมีความชัดเจนของเสียงคมชัด แต่ดูแลรักษายาก
    เพราะจะขึ้นอยู่กับ สภาพอากาศ เช่นเดียวกับ กลองหนังสัตว์
    สายไนลอน / Cable : มีเสียงที่ใกล้เคียงกับสาย Gut มากจะให้สุ้มเสียงที่ใส ความคมชัด
    ของเสียงดี และที่สำคัญคือไม่มีปัญหาของเสียง เมื่อสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง
มาเรียนรู้การฝึกหัด
       เริ่มต้นจากการกับไม้กลองถ้าเราจับไม้กลองได้ในท่าทางที่ถูกและเหมาะสมกับสรีระของ
     ผู้เล่นจะทำให้เกิดความคล่องตัวและควบคุมการตีกลองได้ดี การจับไม้กลอง Snare Drum
     จะมี 2 แบบ ซึ่งการจับที่แตกต่างกันนี้ก็จะทำให้สำเนียงการตีแตกต่างกันออกไปแล้วแต่
     ความชอบของบุคคล
     แบบที่ 1 Matched Grip เป็นการจับไม้กลองแบบคว่ำมือทั้งสองข้างการจับแบบนี้สามารถ
    นำไปประยุกต์ในการจับไม้ตีเครื่อง Percussion อื่น ๆ ได้เกือบทุกประเภท การจับไม้กลอง
    แบบนี้เหมาะต่อการตีกลองในแนวระนาบตรง
     แบบที่ 2 Traditional Grip เป็นการจับไม้กลองที่เป็นเอกลักษณ์ของกลอง Snare Drum
   โดยมือขวาจะจับแบบคว่ำมือ เหมือนกับ Matched Grip แต่มือซ้ายจะจับไม้กลองในลักษณะ
   ที่หงายมือขึ้น ลักษณะการจับไม้แบบนี้เหมาะต่อการตีกลองในระนาบเฉียงการจับไม้กลองทั้ง
   สอบแบบนี้ จะให้สุ้มเสียงสำเนียงการตี ที่มีเอกลักษณะเฉพาะตัว แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่
   กับดุลยพินิจของผู้เล่นว่า จะเลือกใช้แบบใด และโอกาสใด แต่เราต้อง ฝึกฝนการควบคุม การ
   ตีทั้งสองมือ ให้ดีจึงจะทำให้ตีกลอง Snare Drumได้เพราะ
การตีกลอง Snare Drum ให้ดีต้องทำกันอย่างไร ?
      การตีกลอง Snare ให้ดีนั้นผู้เล่นจะต้องเรียนรู้จักการควบคุมน้ำหนักการตีและควบคุมจังหวะ
    การกระดอน (Rebound) ของไม้ทั้งมือซ้าย และมือขวา ให้ชำนาญ และ เกิดความคล่องตัว
   ไม่เกรง ก็จะทำให้ ตีกลองได้ดี ข้อสำคัญเราต้องฝึก แบบฝึกหัดพื้นฐานเป็นประจำ กับเครื่อง
   กำหนดจังหวะ พร้อมทั้งฟังเสียง และควบคุมน้ำหนัก การตีทั้งดังเบา ให้คมชัดตลอดเวลา แล้ว
   ค่อย ๆ เพิ่มความเร็ว ขึ้นเรื่อย ๆ จนชำนาญ แต่ต้องระลึกไว้เสมอว่า ต้องควบคุมน้ำหนัก และ
   การ Rebound ของทั้งสองมือ ให้ดีเสมอ
   แนะนำแบบฝึกหัดพื้นฐานการตี Snare Drum เพื่อควบคุมการใช้มือทั้งสองข้าง
    หมายเหตุ : เราควรหาแบบฝึกหัดเพิ่มเติม เพื่อฝึกเทคนิคต่าง ๆ จากตำรา Snare Drum
    ทั่วไปรวมทั้งฝึก 40 Drum Rudiments
Timpani กลองอีกประเภทที่มีความสำคัญไม่น้อยกว่าเครื่องใด ๆ
      Timpani เป็นกลองที่มีเสียงไพเราะเมื่อฟังทีไรจะรู้สึกตื่นเต้นเร้าใจ กลองชนิดนี้มีขื่อเรียก
    อีกชื่อหนึ่งว่า Kettle Drum มีต้นกำเนิดแถบอาหรับแต่เดิมจะผูกห้อยอยู่ที่ตัวม้าใช้ตีเพื่อ
    ปลุกเร้ากำลังใจของทหาร ปัจจุบันรูปทรงของกลองชนิดนี้ไม่ได้แตกต่างไปจากเดิมมากนัก
    มีการเพิ่มเติมกลไกเพื่อสะดวกในการตั้งเสียงและเล่นเทคนิคต่าง ๆ

      Timpani มีความสำคัญต่อวงคนตรีมากเพราะจะทำให้วงดนตรีนั้นมีสีสันและเสียง ของวง
    จะมีน้ำหนักและมิติขึ้นมาอย่างเด่นชัดพร้อมทั้งเป็นเสียงที่แฝงถึงความมีอำนาจความโอฬาร
    และสร้างความตื่นเต้นเร้าใจได้เป็นอย่างดี
เรามาเรียนรู้การเล่น Timpani กันเลย
      การตีกลอง Timpani ผู้เล่นพึงยึดปฏิบัติไม่ว่าจะนั่งหรือยืนตี ร่างกายโดยเฉพาะเหนือส่วนเอว
    ขึ้นไปจะต้องรู้สึกสบาย ๆ โดยไม้ตีให้ขนานกับหน้ากลอง ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้จับไม้ตีในจุด
    ที่สมดุลของไม้ส่วนนิ้วที่เหลือจะคอยประคองและช่วยในเทคนิคการตีบางประเภท มีข้อสังเกต
    ว่าบางกลุ่มจะวางตำแหน่งของนิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านบนของไม้ตี (French Grip) แต่ก็มีบางกลุ่มที่
    มีการจับไม้ที่แตกต่างกันออกไปโดยวางตำแหน่งของนิ้วหัวแม่มืออยู่ด้านข้างของไม้ตี
    (American Grip) ทั้งสองแบบนี้เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้กันและมีข้อดีที่ต่างกันแล้วแต่ผู้ใช้จะ
    เลือกใช้
เทคนิคการฝึกหัด (Timpani)
      เทคนิคการฝึกตีกลอง Timpani ก็เช่นเดียวกับการตีกลอง snare เราจะต้องรู้จักควบคุม
   น้ำหนักการตีพร้อมทั้งควบคุมการกระตอน (Rebound) ของไม้ตีพื้นฐานการตี Stroke แบบ
   ฝึกหัด (ควรตีและควบคุมน้ำหนักเสียงใน Dynamics ต่าง ๆ)
   แบบฝึกหัด Long Roll เป็นเทคนิคโน๊ตที่ผู้เล่น Timpani พบบ่อย เราจะต้องฝึกแบบฝึกหัดนี้
   และควบคุมใช้ไม้ให้ได้ Dynamics และ Tempo ต่าง ๆ โดยใช้ไม้ตีดังนี้
      เที่ยวที่ 1 ใช้ไม้ Hard ในการตี
      เที่ยวที่ 2 ใช้ไม้ Medium
      เที่ยวที่ 3 เปลี่ยนเป็นการใช้ไม้ Soft ในการตี
   การฝึกแบบฝึกหัดนี้ควรใช้ไม้ Hard ฝึกก่อนเพราะจะอยากในการผลิตเสียงที่ต่อเนื่องแต่จะ
   ง่าย ในการควบคุมการ Rebound และเมื่อเปลี่ยนเป็นไม้ที่นุ่มลงมาจะทำให้ควบคุมการผลิต
   เสียงได้ดีขึ้น
Special Effects & Tecniques
      แบบฝึกหัด Staccato เป็นอีกแบบฝึกหัดที่สำคัญของ Timpani เราจะต้องเรียนรู้การหยุดเสียง
   (Muffle) ซึ่งจะทำให้การตีโน๊ตมีความคมชัด
   หมายเหตุ : ในการหยุดเสียงให้ใช้นิ้วแตะลงไปที่ของกลองก่อนแล้วจึงบิดเลื่อนเข้าไปที่หนัง
   กลองจะช่วยลดเสียงรบกวน เราควรฝึกในจังหวะช้า ๆ แล้วจึงค่อย ๆ เพิ่มความเร็วให้คล่องขึ้น
      แบบฝึกหัด Cross-Sticking จะช่วยให้เกิดทักษะการสัมพันธ์ของมือและให้เกิดสำเนียง
   จองการตีประโยคเพลง
   หมายเหตุ : เราสามารถฝึกทักษะการตีกลอง Timpani ได้จาก Modern Method for Timpani
   เรียบเรียงโดย Saul Goodmann
Keyboard Percussion / Mallets คืออะไร
    Keyboard Percussion หรือ Mallets ก็คือกลุ่ม Percussion ที่มีระดับเสียงแน่นอนตายตัว
   มีลักษณะคล้ายระนาดในบ้านเรา กลุ่มของ Mallets แบ่งออกเป็นเครื่องต่าง ๆ ดังนี้
      1. Glockenspiel หรือ Bell มีเสียงแหลมสดใสตัวลูกระนาดทำจากโลหะ มีขนาดเล็ก
   ที่สุดในบรรดากลุ่ม Mallets
      2. Xylophone ระนาดไม้ฝรั่งตัวลูกระนาดทำจากไม้ในปัจจุบันมีการใช้วัสดุสังเคราะห์มา
   แทน
      3. Vibraphone มีรูปร่างคล้าย Xylophone แต่ลูกระนาดทำจากโลหะมีการใช้ Motor หมุน
   ทำให้เสียงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยมีน้ำเสียงใสทุ้มลึกน่าฟัง
      4. Marimba เป็นระนาดไม้ฝรั่งที่มีขนาดใหญ่ เสียงจึงทุ้มลึกมีมิติน่าฟังมาก ปัจจุบันมีการ
   ใช้วัสดุสังเคราะห์มาทำลูกระนาด เพื่อความสะดวกในการดูแลรักษา กลุ่มเครื่องดนตรีประเภท
   นี้มีความสำคัญมากและมีเทคนิคการเล่นเฉพาะตัวซึ่งนักเล่น Percussion ควรฝึกฝนเทคนิค
   การเล่นเพิ่มเติมนอกเหนือจากกลุ่มเครื่องตีอื่น ๆ พวกกลุ่ม Mallets นี้จะทำหน้าที่เล่นเป็นแนว
   ทำนอง ตลอดจนเล่นโน๊ตที่เป็นคอร์ดได้ ผู้เล่นสามารถจับไม้เพื่อใช้ตีตั้งแต่ไม้เดียวไปจนถึง
   กระทั่ง 5-6 ไม้ (Multiple-Mallet Grips) ในการเล่นคนเดียว ซึ่งเปรียบกับผู้เล่น Piano
   ผู้เล่นสามารถใช้นิ้วทั้งสิบนิ้วเล่นทั้งแนวทำนองและคอร์ดเสียงประสานไปได้ พร้อม ๆ กับ
   ผู้เล่น Mallets ก็เช่นเดียวกันจะต้องฝึกฝนการจับและควบคุมนิ้วในการใช้ไม้ตีหลายไม้
เทคนิคการจับไม้ตี Mallets / Keyboard Percussion
      การจับไม้แบบนี้เราจะต้องฝึกการใช้มือข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างจับไม้ตั้งแต่ 2 ข้างขึ้น
   ไปในการเล่น โดยเราควรมีพื้นฐานของการจับไม้แบบธรรมดาเสียก่อน จึงจะมาฝึกการจับแบบ
   Multiple-Mallets การจับไม้แบบนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ
   แบบที่ 1 Cross Grip เป็นแบบฉบับดั้งเดิมของการจับไม้ Multiple-Mallets ผู้ที่เริ่มฝึกควรเริ่ม
   ต้นจับไม้แบบนี้ก่อนซึ่งการจับแบบนี้จะเหมาะต่อการตีโน๊ตประเภท Block Chords
   แบบที่ 2 Independent Grip เป็นการจับไม้ Multiple-Mallets ที่นิยมใช้กันมากโดยเฉพาะใน
   การเล่น Marimba การจับไม้แบบนี้ถือเป็นหัวใจและเป็นเทคนิคที่สำคัญของการเล่นทีเดียว
   การจับไม้แบบนี้ผู้เล่นสามารถแยกการควบคุมไม้แต่ละไม้ได้ เป็นเอกเทศซึ่งกันและกัน วิธีการ
   จับไม้ก็เริ่มต้นโดยจับไม้ที่หนึ่งอยู่ระหว่างนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ในลักษณะเดียวกับการจับไม้กลอง
   ส่วนนิ้วกลางให้แตะอยู่ที่ปลายเพื่อช่วยพยุงไม้เอาไว้ ไม้ที่สองจะใช้นิ้วนางและนิ้วก้อยกับยึด
   เอาไว้ กับฝ่ามือ
แบบฝึกหัดเบื้องต้นในการฝึก Multiple-mallets
      เราสามารถฝึกฝนแบบฝึกหัดเพิ่มเติมได้จาก Method of Movement for marimba เรียบ
   เรียงโดย Leigh Howard Stevens ซึ่งจะรวมแบบฝึกหัดต่าง ๆ กว่า 500 บท เราจะเห็นว่า
   Percussion เป็นกลุ่มเครื่องดนตรีที่มีความหลากหลายไม่ว่าจะเป็นเครื่องดนตรีหรือแบบฝึก
   หัด เราต้องค้นคว่าและลองเข้าไปสัมผัสจะทำให้เรารู้ว่ากลุ่มเครื่องดนตรีประเภทนี้น่าอัศจรรย์
   และน่าสนใจเพียงใด
 
Home | Products | Download Catalog | Order | Music Tips | Contact us
Copyright 2010 CTC MUSIC HOUSE LTD., All Rights Reseved., Design : Cmzone Webdesign.